การรักษาโรคนิ้วล็อก
ระยะที่ 1 เจ็บฐานนิ้ว นิ้วยึด ---> พักมือ ทานยาต้านการอักเสบ แช่น้ำอุ่น
ระยะที่ 2 เจ็บฐานนิ้ว สะดุด กระเด้ง ---> ทานยา กายภาพบำบัด
ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ต้องแกะง้างจึงออก ---> ทานยา กายภาพบำบัด ฉีดยา
ระยะที่ 4 นิ้วล็อกติดยึด แกะไม่ออก เสียรูป ---> ฉีดยา ผ่าตัดปลดล็อก
การพักมือ หยุดพฤติกรรมการใช้งานของมือรุนแรง
ยาต้านการอักเสบ ยาต้านการอักเสบของไขข้อที่ไม่เข้า Steroid เช่น Diclofenac, Iprobufen
การรักษาทางกายภาพบำบัด การแช่น้ำอุ่น แช่พาราฟิน การทำ Ultrasound ฯลฯ
การฉีดยา Steroid ใช้ Triamcinolone ฉีดเข้าปลอกหุ้มเอ็น ห้ามฉีดเข้าเส็นเอ็น
การผ่าตัด แบบเปิด ผ่าบริเวณฐานนิ้วประมาณ
1- 2 เซนติเมตร เพื่อตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเอ็น
แบบเจาะรูผ่านผิวหนัง ใช้เครื่องมือ Blade probe หรือเข็ม เบอร์
18 เจาะรูตัดเข็มขัดและปลอกหุ้มเส้นเอ็น แก้อาการนิ้วล็อก
1. ภาพแสดงการเปิดแผล ของ trigger finger.


รูปแสดงขั้นตอนการผ่าตัดแบบเจาะรูผ่านผิวหนัง
2.Percutaneous release.
ข้อควรระวัง และข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัด.
ข้อควรปฏิบัติหลังเจาะรักษาโรคนิ้วล็อก
- เมื่อครบ 6 ชั่วโมงหลังเจาะให้ถอดผ้ายืดพันแผลออกได้
- ควรมีการขยับกำ - แบนิ้วมือบ่อย ๆ ภายหลังถอดผ้ายืดออก
- ห้ามไม่ให้แผลถูกน้ำ และห้ามแกะพลาสเตอร์ปิดแผลชิ้นในออกก่อนมาพบแพทย์ ตามนัด
- มาพบแพทย์ตามนัดเมื่อเจาะครบ 7 วัน
หมายเหตุ
- แผลจะถูกน้ำได้เมื่อแผลแห้งสนิทดีประมาณหลัง 5-7 วัน หากแผลเปียกน้ำต้องรีบแกะพลาสเตอร์ออกทันทีและเช็ดทาแผล ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเบตาดีน แล้วจึงปิดแผลด้วยเทนโซพลาส
- อาการเขียวช้ำบริเวณผิวหนังใกล้เคียงอาจเกิดได้ ไม่ต้องตกใจ สีเขียวช้ำจะดูดซึมหายไปเองภายใน 7-10 วัน
- การห่อผ้ายืดไว้นานหลาย ๆ วันโดยไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ จะทำให้นิ้วมือตึง และผลไม่ดีเท่าที่ควร ควรขยับกำแบบ่อย ๆ
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือที่รุนแรง ในระยะ 3 เดือน ถึง 6 เดือนแรกหลังการผ่าตัด แต่สามารถทำงานได้ ให้มือกำสนิท เหยียดได้สุด ควรเลี่ยงการบิดผ้า ทุบฆ้อน กระแทก ฯลฯ เพราะจะทำให้ฐานนิ้วบริเวณแผลช้ำ บวม อักเสบได้ ถึงแม้อาการล็อกของนิ้วนั้น ๆ อาจหายไปแล้วก็ตาม