2. การฉีดยา Steroid รักษาโรคนิ้วล็อกอันตรายไหมคะ ?
การฉีดยาสามารถช่วยรักษาโรคนิ้วล็อกได้ในระยะต้น ๆ ตั้งแต่เจ็บฐานนิ้วไปจนถึงนิ้วสะดุด กระเด้ง แต่ขบวนการหนาตัวของเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและพังผืดยังมีต่อไปหากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม
การใช้มือให้ถูกต้อง การฉีดยาอาจหายไปเลยได้ แต่ถ้าอาการนิ้วล็อกเป็นมากแล้ว คือระยะที่ 3
ล็อกต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก หรือระยะที่ 4 นิ้วโก่งงอ บวมเสียรูปแล้ว การฉีดยา จะไม่หาย ยาที่ฉีดเป็น Steroid เพียงแค่ไปช่วยลดการบวม ลดการแข็งตัวของพังผืด ทำให้ดีขึ้นชั่วคราว อาจหายไป2-3 เดือน แล้วก็กลับมาเป็นใหม่ ซึ่งในที่สุดมักลงเอยด้วยการผ่าตัด ถ้าฉีดยาแล้วยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของมือ ยา Steroid ที่ฉีดไปมีอันตรายเพียง แต่การฉีดต้องไม่ฉีด อัดเข้าเส้นเอ็น และไม่ควรฉีดเกิน 2-3 ครั้ง เพราะไม่เกิดประโยชน์ ควรผ่าตัดแก้ไขที่ต้นเหตุของการล็อก
3. ทำไมผู้หญิงจึงเป็นนิ้วล็อกมากกว่าผู้ชาย ถึง 3-5 เท่า ?
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นนิ้วล็อกมากกว่าผู้ชาย เพราะโดยความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ผู้หญิงมีการใช้มือทำงานจุกจิกทั้งวันโดยเฉพาะคนที่เป็นแม่บ้าน การหิ้วซื้อของเข้าบ้านการจ่ายตลาดซื้อกับข้าวการเตรียมหุงหาอาหาร สับหมู สับไก่ การซักบิดผ้า การทำดอกไม้ประดิษฐ์ ล้วนมีการใช้มือที่รุนแรง และซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก ส่วนผู้ชายจะเป็นในกลุ่มที่ทำงานช่าง งานทำสวน การตีกอล์ฟ
4. ท่านคิดว่าสาเหตุที่สำคัญที่สุดในผู้หญิงไทยที่เป็นนิ้วล็อกมากที่สุดคืออะไร ?
สาเหตุนิ้วล็อกที่พบมาที่สุดในหญิงไทย คือ การหิ้วถุงพลาสติก สามารถเรียกได้ว่าเป็นถุงมหาภัยหรือภัยเงียบรายวันที่ค่อย ๆ ทำลายปลอกและเข็มขัดรัดเส้นเอ็น กว่าจะรู้ก็เป็นเสียแล้วด้วยคนไทยไม่ ตระหนักถึงภัยเงียบนี้ คนประเทศอื่นเป็นน้อยกว่า เช่น คนยุโรปใช้ถุงกระดาษรับน้ำหนักได้น้อย
ของหนักมักสะพานเป้ การอุ้มหรือสะพาย การใช้ผ้าขนหนูสองถุงหิ้วให้รับน้ำหนัก ทั้งฝ่ามือจะช่วย
ลดการปวดเจ็บของมือนั้น ๆ
5. ผ่าตัดนิ้วล็อกแล้วทำไมยังเป็นนิ้วล็อก นิ้วข้างเคียงใหม่ ?
การรักษานิ้วล็อก คือการแก้ความผิดปกติ ของนิ้วนั้นๆ จะหายเฉพาะนิ้วที่รักษา นิ้วข้างเคียงใช้งานมารุนแรง และหากเสื่อมใกล้เคียงกัน ก็ย่อมเป็นนิ้วล็อกตามกันมาได้ การรักษาก็พิจารณาเป็นนิ้วๆไป
6. วิธีผ่าหรือเจาะรักษาโรคนิ้วล็อกมีโอกาสอักเสบติดเชื้อมากน้อยกว่ากัน?
วิธีไหนก็มีโอกาส หากการดูแลหลังผ่าตัดไม่ดี ถูกน้ำ เปิดแผลทิ้งไว้ก่อนเวลาอันควร การผ่าตัด
แบบเปิด แผลใหญ่กว่าหายช้ากว่าย่อมมีโอกาส ติดเชื้อมากกว่า
7. การเจาะผ่ารักษาโรคนิ้วล็อก มีโอกาสตัดเส้นประสาทนิ้วบ้างไหม
?
จากจำนวน 4900 นิ้ว มือที่ใช้วิธีการเจาะรักษาไม่พบอาการชาหรือ หมอความรู้สึก ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการตัดถูกเส้นประสาท เพราะแนวที่เจาะอยู่ แกนกลางนิ้ว เหนือเส้นเอ็น ส่วนเส้นประสาทอยู่ข้าง ๆ ห่างออกไปข้างละกว่าครึ่งเซ็นติเมตร จึงมีโอกาสพบได้น้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
8. หลังผ่าตัดแล้วมีการเจ็บอักเสบได้หรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไร?
รายแรกหลังผ่าตัดในช่วง 2-3 เดือนแรก ควรงดกิจกรรมที่รุนแรง การกำ บด กระแทก บิดผ้า
หิ้วหนัก ๆ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ แต่ถ้าหายดีแล้ว หลัง 6 เดือน นิ้วก็ถึงมาเป็นปกติ หากมีการ
อักเสบ ควรกลับไปพบแพทย์ที่ทำการผ่าตัด หรือเจาะ การทานยา การรักษาทางกายภาพบำบัด
การทำการบริหารของมือ การทำอุลตร้าซาวด์ จะช่วยลดการอักเสบ ลดบวม ฟื้นฟูมือให้สู่สภาพเดิมแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ หรือยังใช้งานของมือรุนแรงอยู่ นิ้วนั้นๆ อาจอักเสบ บวมทำให้เจ็บ ปวด กำแบมือไม่สะดวก แต่จะไม่มีอาการล็อก อาการนี้พบได้ในคนไข้ท่าได้รับการรักษาที่นิ้วกลาง 5-10% โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้งานของมือรุนแรง เลี่ยงไม่ได้ เช่น คนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขายหมู คนสับไก่ คนทำสวน คนซักผ้า บิดผ้า คนตีกอล์ฟ เป็นต้น
9. การบริหารแขนและมือด้วย การบีบสปริง (Hand grip) มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?
การบีบสปริง Hand grip ทำให้กล้าเนื้อแขนด้านหน้าแข็งแรงขึ้นมือมีกำลังขึ้นจริงแต่ถ้าอายุเกิน 50 ปี ไม่ควรบีบถี่และบ่อยเกินไป เพราะการบีบมือเปรียบเสมือนการบีบกรรไกรตัดกิ่งไม้
ทำให้ เข็มขัดรัดเส้นเอ็นที่ส่วนนิ้ว (A1 Pulley) ถูกบด ทำให้เสียความยืดหยุ่นและ ทำให้เป็นนิ้วล็อค ของนิ้ว ชี้ กลาง นาง ในเวลาต่อมา
10. การเล่นกีฬาประเภทใดมีความเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อค มากกว่ากันระหว่าง การตี Tennis, Badmintonและการตีกอล์ฟ?
การตี Tennis ถึงแม้ต้องกำมือและตีลูกอย่างแรงแต่ด้ามไม้แร๊กเก็ตใหญ่กว่าไม้แบดมินตัน ซึ่งการตี ก็ไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับการตีเทนนิส คุณตีแบดมินตัน ถ้าไม้เล็กกว่ามีโอกาสเกิดนิ้วล็อคมากว่า
ส่วนการตีกอล์ฟมือซ้ายจะกำไม้กอล์ฟแขนกำเล็กยิ่งกว่าไม้แบดมินตัน พบคนตีกอล์ฟเป็นโรคนิ้วล็อค
มากกว่า กีฬาอีก 2 ชนิด โดยเฉพาะนักกอล์ฟมือใหม่มีการ grip ผิดๆ แน่นเกินไปพบว่าการ drive golf เป็นเหตุของการบาดเจ็บมีการาตีลูกต่อเนื่อง เป็นถาดๆ ถาดละ 40-50 ลูก ทำให้มือซ้ายระบมและเป็น นิ้วล็อคในเวลาต่อมา
11. ลูกสาววัยขวบครึ่ง นิ้วโป้ง สองข้าง อยู่ในท่างอ เหยียดไม่ออกแต่งอได้ปกติ ควรทำอย่างไรดีคะ?
นิ้วล๊อคในเด็ก มักพบในวัย 2-3 ขวบแรก ทั้งที่ตอนแรกเกิดไม่พบความผิดปกติ การนวด
.
การยึดนิ้วที่ละน้อยหลังการนวด อาจช่วยให้เหยียดออกมาได้บ้างก็เป็นไม่มากและอาจกลับเป็นปกติได้
ใน 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเข็มขัดรัดเส้นเอ็นแน่นเกินไป หรือพบเป็นก้อนนูนที่ฐานนิ้วอาจยืดไม่ออก
จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ตัดเข็มขัดที่รัดออกนิ้ว นิ้วก็จะเหยียดตรงได้ โดยทั่วไปแนะนำให้ผ่าก่อน
3 ขวบ เพื่อไม่ให้การพัฒนาการของการใช้นิ้วมือ หรือวัยเตรียมก่อนเข้าเรียนการผ่าตัด โดยการเจาะผ่า ในผู้ป่วยเด็ก 26 ราย
12. อายุเป็นอุปสรรคในการผ่าตัดเจาะนิ้วล็อกหรือไม่ คนไข้ที่เจาะผ่าเท่าไร อายุมากที่สุด/ต่ำสุด ?
อายุไม่เป็นอุปสรรคในการผ่าตัดเจาะรักษาโรคนิ้วล็อก เด็กเล็กวัย 2-3 ขวบ จนถึงคนชราวัย 95 ก็สามารถเข้ารับการรักษา โดยวิธีเจาะ มีผู้สูงวัย มารดา นายแพทย์ผู้ใหญ่ วัย 93 มาเจาะรักษานิ้วแรก และอายุ 94 และ 95 มาเจาะรักษาโรคนิ้วล็อกอีก 2 นิ้ว รวมเป็น 3 นิ้ว ได้ผลดี
|