หน้าแรก
 
 
What is Trigger Finger
 
Signs and Symtoms
 
Types
 
Treatment of Choice
 
Surgery of Choice
 
Pathophysiology
 
Prevention
 
Congenitial Trigger Finger
 
Contact
 
Testimonial
 

โรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็น เพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว อาการเริ่มตั้งแต่เจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้น ๆ นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุด หรือกระเด้ง เข้าออกเวลางอหรือเหยียด จนต่อมามีอาการล็อก คือ หาก งอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการเจ็บปวด เวลาดึงออก หรือบางครั้งอาจจะเหยียดออกแต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หากปล่อยทิ้งไว้ นิ้วมือ นั้น ๆ อาจเปลี่ยนรูปเป็น โก่ง งอ บวม เอียง นิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้น ทำให้การใช้งานของมือในชีวิตประจำวันเป็นอุปสรรคและไม่สามารถใช้ทำงานได้ หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ข้อต่ออาจจะยึด และข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของ นิ้วยึดแข็ง ทำให้มือพิการได้ เหยียดตรงไม่ได้

 

สาเหตุเกิดจากการใช้งานของมือในท่ากำบีบอย่างแรง และซ้ำ ๆ บ่อย ๆ กำบีบเครื่องมือเช่น คีมไขควง บิดผ้า หรือการหิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ เป็นประจำ พบได้ในแม่บ้านไทย จีน ในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ในการหิ้วถุงพลาสติกใส่อาหาร ผลไม้ จากตลาดหรือ ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต และหิ้วถุงหนัก ๆ เดินกลับบ้านจากตลาดเป็นระยะทางไกล ๆ (วัฒนธรรมคนไทย) อาชีพบางอย่าง จำเป็นต้องใช้มือทำกิจกรรม บีบ กำ กระแทก เช่น คนทำไร่ทำสวน ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง มีหลายอาชีพซึ่งดูไม่รุนแรงแต่มีการใช้งาน กำอุปกรณ์เป็นเวลานาน ๆ ซ้ำ ๆ ทั้งวัน ก็ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก เช่น ช่างทำผม มือหนึ่งกำแปรง หวีสางผม อีกมือถือไดร์เป่าผมหรือกรรไกร ช่างตัดเสื้อใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้า พ่อครัวแม่ครัวมือจับกระทะอีกมือจับตะหลิว ผัด อาหารทั้งวัน ทำให้เป็นนิ้วล็อกในเวลาต่อมา

 

ปัจจัยที่สำคัญในการเป็นโรคนิ้วล็อก คือ ความแรงในการบีบ กระแทก บีบ กำ บด สับ ความถี่ ความบ่อย ในการใช้มือกำบีบเครื่องมือ อีกปัจจัย คือ ความเสื่อมของวัย ซึ่งพบในวัย 45 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยแรก บางครั้งคนหนุ่มสาวกระชากกิ่งไม้ด้วยมือเปล่าเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงฉับพลันและพัฒนาเป็นนิ้วล็อกในเวลาอันใกล้ หรือหิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ ซ้ำ ก็เป็นนิ้วล็อกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

 

ลักษณะการใช้งานของมือในแต่ละกิจกรรมใช้แต่ละนิ้วไม่เหมือนกันก็ทำให้เป็นนิ้วล็อก ของแต่ละนิ้วอย่างสัมพันธ์กัน เช่น ครูบาอาจารย์ นักบริหาร ด็อกเตอร์ นักวิชาการ มักเป็นนิ้วล็อกที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมากและใช้นิ้วโป้งกดปากกานาน ๆ ช่างไม้ มักเป็นที่นิ้วกลางขวา คนตีกอล์ฟ เป็นนิ้วกลาง นาง ก้อย มือซ้าย เพราะการจับไม้กอล์ฟ บดกระแทกด้วยมือซ้าย นักแบดมินตัน เป็นนิ้วล็อกที่นิ้วชี้ และนิ้วกลางขวา แม่บ้านซักบิดผ้า เป็นนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วขวา ฯลฯ

 

การกำมือบีบกระแทกเกิดการบดกันของเข็มขัดรัดเส้นเอ็น ทำให้บวมอักเสบและหนาตัว เป็นผังพืดยึดแข็งตัวขึ้นตามลำดับจนเสียความยืดหยุ่นไม่ยอมให้เส้นเอ็น ซึ่งปกติเดิมยอมยึดให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไปมา เวลากำมือ เหยียดมือ เมื่อเกิดการเสื่อมเสีย เส้นเอ็นก็วิ่งไม่ผ่าน เกิดอาการเจ็บ ยึด สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป คดงอโก่ง บวม เกยกันใช้งานของมืออย่างปกติไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในชีวิตประจำวัน และการทำงานทำให้เกิดปัญหาเพิ่มพูนขึ้นทางจิตใจ ทั้งต่อตัวเองและต่อครอบครัว

 

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของมือคนทำงานยิ่งแข็งแรงมากยิ่งขึ้นมีโอกาสมาก สามารถพบได้ในแม่บ้านเกือบทุกบ้าน พบมากในคุณผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า ทั้งนี้เพราะผู้หญิงในเมืองไทย มีการใช้งานของมือรุนแรงซ้ำซากมากกว่าผู้ชาย ตั้งแต่หิ้วของ จ่ายกับข้าว Shopping ซื้อเสบียงเข้าบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ ยิ่งถูกยิ่งหิ้วมาก การเตรียมอาหาร การสับไก่ กระดูก การทำอาหารใช้มือจับกะทะ ตะหลิว การซักผ้า บิดผ้า ทำงานบ้านต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นหน้าที่ของคุณผู้หญิง ในบางบ้านผู้ชายทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ดังกล่าว บ้านนั้นพบนิ้วล็อกในคุณผู้ชายแทน วัยที่พบโรคนิ้วล็อกตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มากสุด ช่วงอายุ 50-60 ปี ผู้ชาย พบโรคนิ้วล็อกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ มักพบในผู้ชายตีกอล์ฟ ทำสวน และกลุ่มช่าง เป็นส่วนใหญ่

 

โรคนิ้วล็อกพบได้ในคนขาไม่ดี เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง เพราะใช้ไม้เท้าบีบ กำ กด อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า ทำให้ผ่ามือกดจับด้ามและเป็นนิ้วล็อกในที่สุด คนที่เป็น เบาหวานมีโอกาสเป็นมากขึ้นกว่าคนปกติ เด็กเล็กพบเป็นโรคนิ้วล็อกได้ เป็นมาแต่กำเนิด จริง ๆ ตอนแรกเกิดยังไม่พบแต่พบในขวบปีแรก ส่วนใหญ่พบที่นิ้วโป้ง ข้างใดข้างหนึ่งหรือ ทั้งสองข้างอยู่ในท่างอเหยียดไม่ออก ถ้าเป็นน้อย ๆ การบีบนวด ดัด ดาม ก็อาจหายเองได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องได้รับการผ่าตัด และมักจะหายกลับมาเป็นปกติได้

 

โรคนิ้วล็อกมีสาเหตุชัดเจน และหากรู้จักระมัดระวังตัว จะป้องกันได้ เช่น การหิ้วถุง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ หิ้วถุงให้ถูกวิธี หิ้วให้เต็มฝ่ามือแทนการใช้นิ้วเกี่ยว ใช้ผ้ารอง ใช้รถเข็น รถลาก การทำงานบางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรประยุกต์ใช้เครื่องทุนแรง ใส่ถุงมือ ประยุกต์ด้ามจับอุปกรณ์ให้ใหญ่และนิ่มจะลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้เป็นโรคนิ้วล็อก การรักษาตั้งแต่แรกย่อมช่วยชลอหรือตัดขบวนการที่จะพัฒนาต่อไปจนเป็นขั้นรุนแรง สามารถหายได้ด้วยการพักมือ การใช้ความร้อน การบีบนวด การใช้ยาต้านการอักเสบ การฉีดยา แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ จนอาการล็อกรุนแรง นิ้วเสียรูป การรักษาที่หายขาดได้ คือ วิธีการผ่าตัดซึ่งก็มีทางเลือกใหม่เพียงแต่เจาะตัดปลอกหุ้มเอ็น ไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผล ไม่ต้องเย็บแผล และสามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าวิธี การผ่าตัดแบบเปิด



 

อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือเหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก อาจล็อกในท่านิ้วงออยู่ เหยียดไม่ออก หรือนิ้วเหยียด อยู่แต่งอไม่ลง นิ้วอาจบวม โก่งงอ นิ้วเกยกัน แบไม่ออก เจ็บปวด มือไม่มีกำลัง หรืออาจมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย เป็นนิ้วไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพและการใช้งานรุนแรง

รูปกลุ่มอาการที่พบเห็น


 

อาชีพที่มักเป็นโรคนิ้วล็อก

- แม่บ้าน หิ้วถุงช๊อปปิ้ง หิ้วตะกร้าจ่ายตลาด ซักผ้า บิดผ้า สับหมู สับไก่ มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

- นักกอล์ฟ กำไม้กอล์ฟ กระแทกลูกกอล์ฟขณะตีลูก มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย

- คนทำสวน ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หิ้วถังน้ำรดน้ำต้นไม้ ใช้มือขุด พรวนดินต้นไม้ มักเป็น

นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

- ช่าง ใช้มือกำบีบเครื่องมือ เช่น ไขควง คีม ค้อน เลื่อย ฯลฯ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

- คนขายของชำ หยิบ ยก สิ่งของทั้งวันที่ขายของ ทำให้เป็นนิ้วชี้ นิ้วกลาง ทั้งสองข้าง

- คนขายหมู สับกระดูกหมู มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

- คนนวดแป้งซาลาเปา มักเป็น นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

- หมอนวดแผนโบราณ มักเป็น นิ้วโป้ง มือซ้ายและมือขวา

- คนขายน้ำขวด ถังแก๊ส มัก เป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

- แม่ครัวโรงเรียน ยกหม้ออาหารใหญ่ ๆ ถังน้ำใหญ่ ๆ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย

และมือขวา

- ครู ผู้พิพากษา นักบริหาร นักบัญชี มักเป็น นิ้วโป้ง มือขวา

ความเสี่ยงเกิดจากนิ้วนั้น ๆ ต้องเกร็ง กำ บด ปะทะ หิ้ว ทำให้เส้นเอ็น บดและยืด เข็มขัดรัดเส้นเอ็น ซึ่งความยืดหยุ่นเสื่อมเสีย เมื่อวัยเกินอายุ 40 ปี ทำให้เข็มขัดหนาตัว แข็งตัวเป็นพังผืด และกีดขวางการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็น ทำให้นิ้วนั้น ๆ งอ หรือ เหยียดไม่สะดวกจนเกิดอาการนิ้วล็อก 40 ปี ทำให้เข็มขัดหนาตัว แข็งตัวเป็นพังผืด และกีดขวางการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็น ทำให้นิ้วนั้น ๆ งอ หรือ เหยียดไม่สะดวกจนเกิดอาการนิ้วล็อก

Username
Password